ความสำคัญของ ‘เหตุการณ์ภายหลังวันที่ในงบการเงิน’
ทำความเข้าใจถึงความสำคัญของ ‘เหตุการณ์ภายหลังวันที่ในงบการเงิน’
อย่างที่ทราบกันดีว่าผู้ตรวจสอบบัญชีนั้น ต้องทำหน้าที่รวบรวมหลักฐานที่จะนำมาสนับสนุนรายงานทางการเงินของผู้ว่าจ้างให้ถูกต้องและสมบูรณ์ที่สุด ในการทำรายงานทางการเงินนั้น จะมีระยะเวลาเริ่มต้นการตรวจสอบจนไปถึงวันสิ้นสุด ซึ่งคนที่เป็นกำหนดระยะนั้นจะเป็นผู้มีอำนาจหรือเจ้าของกิจการ และวันที่ลงลายมือชื่อของผู้ตรวจสอบบัญชีจะเป็นวันที่หลังจากวันที่สิ้นรอบระยะเวลารายงาน โดยในช่วงเวลาดังกล่าวอาจมีเหตุการณ์ภายหลังรอบระยะเวลารายงาน ที่ผู้ตรวจสอบบัญชียังต้องมีความรับผิดชอบตามติดผลงานอยู่ ซึ่งเราลองมาทำความเข้าใจกับคำว่า ‘เหตุการณ์ภายหลังวันที่ในงบการเงิน’ ให้มากขึ้นกันดีกว่า
นิยามของความหมาย ‘เหตุการณ์ภายหลังวันที่ในงบการเงิน’
เหตุการณ์ภายหลังรอบระยะเวลารายงาน หมายถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลังวันสิ้นรอบระยะเวลารายงานกับวันที่รับอนุมัติให้ออกงบการเงิน ไม่ว่าเหตุการณ์นั้นจะเป็นไปในทางดีหรือไม่ดี เหตุการณ์ดังกล่าวสามารถแยกได้เป็น 2 ประเภทดังนี้
1.เหตุการณ์ที่เป็นหลักฐานยืนยันว่า สถานการณ์ได้มีอยู่ ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน (เหตุการณ์ภายหลังรอบระยะเวลารายงานที่ต้องปรับปรุง)
2.เหตุการณ์ที่ชี้ให้เห็นว่า สถานการณ์ได้เกิดขึ้นภายหลังรอบระยะเวลารายงาน (เหตุการณ์ภายหลังรอบระยะเวลารายงานที่ไม่ต้องปรับปรุง)
วันที่ได้รับอนุมัติให้ออกงบการเงิน
ซึ่งจะนับง่ายๆ 6 ช่วงเวลาคือ
1.วันที่เริ่มรอบระยะเวลา (รายงาน)
2.วันที่สิ้นรอบระยะเวลา (รายงาน)
3.วันที่ได้รับอนุมัติให้ออกงบการเงิน (วันที่ในรายงานของผู้สอบบัญชี)
4.รอบระยะเวลารายงาน
5.เหตุการณ์ภายหลัง
6.รอบระยะเวลารายงาน
การรับรู้รายการและการวัดมูลค่า
- เหตุการณ์ภายหลังรอบระยะเวลารายงานที่ต้องปรับปรุง เป็นรายการที่กิจการต้องปรับปรุงจำนวนที่รับรู้ในงบการเงินหรือรับรู้รายการที่ไม่เคยรับรู้มาก่อน
- เหตุการณ์ภายหลังรอบระยะเวลารายงานที่ไม่ต้องปรับปรุงและให้พิจารณาการเปิดเผยข้อมูลในหมายเหตุประกอบงบการเงิน เช่น การรวมธุรกิจที่สำคัญภายหลังรอบระยะเวลารายงาน
- เงินปันผล ถ้าหากเกิดมีการให้จ่ายเงินปันผลหลังรอบระยะเวลารายงาน แต่เป็นวันก่อนที่จะได้รับงบการเงิน เงินปันผลก้อนนี้ต้องไม่รับรู้ว่าเป็นหนี้สิน ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน
มุมมองของผู้ตรวจสอบบัญชี
ในด้านการทำงานของผู้ตรวจสอบบัญชี จะมีมาตรฐานการตรวจสอบบัญชี เกี่ยวกับเหตุการณ์ภายหลังวันที่ในงบการเงิน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ได้รับหลักฐานการสอบบัญชีที่ดูมีความน่าเชื่อถือ ซึ่งงบการเงินได้แสดงให้เห็นถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ในงบการเงินว่ามีความเป็นมาอย่างไร และวันที่ในรายงานของผู้ตรวจสอบบัญชี อาจจะมีการปรับเปลี่ยนหรือเปิดเผยข้อมูลภายในรายงานการเงินได้บ้างตามความเหมาะสม
เหตุการณ์ภายหลังวันที่ในงบการเงินที่ถูกจัดทำโดยเจ้าของกิจการหรือฝ่ายบริหาร และการตรวจสอบเหตุการณ์ภายหลังวันที่งบการเงินจากผู้ตรวจสอบบัญชี ทั้ง 2 อย่างมีความสำคัญและความสัมพันธ์กันแบบยากที่จะหลีกเลี่ยงได้ เพราะด้วย
ผู้ทำบัญชี ฝ่ายบริหาร และผู้ตรวจสอบบัญชี ต่างก็มีบทบาทหน้าที่ที่มีความสำคัญต่องบการเงิน และยังแสดงให้เห็นข้อเท็จจริงในการทำรายงานทางการเงินในส่วนอื่นๆ ได้อีกด้วย ซึ่งทำให้ผู้ใช้งบทางการเงินได้มีความมั่นใจว่าข้อมูลที่อยู่ในมือนั้นเป็นข้อมูลที่มีคุณภาพ เชื่อถือได้ รวมไปถึงหมายเหตุประกอบงบการเงินที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ภายหลังรอบระยะเวลารายงาน จะทำให้ผู้ใช้งบการเงินได้รับข้อมูลที่สำคัญต่างๆ ของบริษัท นำไปต่อยอดธุรกิจหรือช่วยให้ตัดสินใจในการใช้งบประมาณในส่วนต่างๆ ได้ง่ายขึ้นนั่นเอง