Image

บางท่านที่เพิ่งเริ่มต้นทำธุรกิจหรือเปิดบริษัทเป็นของตัวเอง อาจสงสัยว่า “การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม” คืออะไร? 

การจัดตั้งบริษัทเพื่อดำเนินการธุรกิจต่างๆ ขึ้นมานั้น มีขั้นตอนการบริหารจัดการที่ต้องทำให้ถูกต้องตามมาตรฐาน หนึ่งในขั้นตอนนั้นคือการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งตามกฎหมายแล้วการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มนั้น เป็นข้อปฏิบัติสำหรับบริษัทที่มีรายได้ต่อปีเกิน 1.8 ล้านบาท จะต้องไปทำการจดทะเบียนเข้าระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม กับทางกรมสรรพากร เน้นย้ำว่า 1.8 ล้านบาทนี้คือส่วนของรายได้ทั้งหมด ไม่ใช่การนับแค่กำไรเท่านั้น เพราะฉะนั้นหากบริษัทของเรามีรายได้ใกล้เคียงหรือเกิน 1.8 ล้านบาทแล้ว ก็ควรรีบทำการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มให้เร็วที่สุด

ยกตัวอย่างเช่น ช่วงกลางปีบริษัทสรุปรายได้บริษัทได้ยอดที่ 1.5 ล้านบาท และคาดว่าจะเกิน 1.8 ล้านบาทในช่วงสิ้นปี ดังนั้นเราก็สามารถไปทำการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ล่วงหน้าได้ โดยไม่จำเป็นต้องรอให้ยอดถึง 1.8 ล้านหรือรอให้ถึงกำหนดปลายปีแล้วจึงทำการจดทะเบียนเข้าระบบ

การจดทะเบียนเข้าระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม (Vat) ส่งผลต่อบริษัทของเราอย่างไร?

เมื่อบริษัทของทำการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและเข้าสู่ระบบแล้ว จะทำให้บริษัทมีงานทางด้านบัญชีเพิ่มเข้ามาและมีค่าใช้จ่ายทางด้านบัญชีที่เพิ่มขึ้นด้วย นั่นคือ มีหน้าที่ต้องทำการนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มให้กับกรมสรรพากรภายในวันที่ 15 ของทุกเดือน โดยการนำส่งส่วนต่างระหว่างภาษีขายกับภาษีซื้อ หากภาษีซื้อมากกว่าภาษีขาย บริษัทก็สามารถทำการขอคืนภาษีได้

Image

แต่ก็มีข้อควรระวัง คือ ไม่ใช่ว่าการซื้อสินค้าทุกรายการจะสามารถนำมาใช้ระบุเป็นภาษีซื้อได้ เพราะมีสินค้าหลายๆ อย่างที่เป็นภาษีต้องห้าม เพราะฉะนั้นเพื่อความมั่นใจ การปรึกษาสำนักงานบัญชีแล้วให้สำนักงานบัญชีเป็นผู้คำนวณรวมถึงยื่นภาษีแทนบริษัท จึงเป็นทางเลือกในการลดข้อผิดพลาด และช่วยให้มั่นใจว่าบริษัทได้ดำเนินการจดทะเบียนยื่นภาษีมูลค่าเพิ่มถูกต้องตามหลักเกณฑ์อย่างถูกต้อง

ข้อดีของการจดทะเบียนเข้าระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม

โดยสรุป ข้อดีของการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ บริษัทสามารถนำภาษีซื้อมาขอทำการคืนภาษีได้ เช่น บริษัท A ซื้อ แท็บเล็ตแจกฟรีให้พนักงานทุกคน ในราคา 20,000 บาท มีภาษีที่ซื้อ 1,500 บาท หากเราจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีซื้อของเราก็จะสามารถนำมาขอคืนได้ 1,500 บาท ในขณะที่การไม่จดทะเบียนภาษีจะไม่สามารถนำมาขอคืนได้

เมื่อบริษัทมีรายได้ใกล้เคียงหรือเกิน 1.8 ล้านบาทก็ถึงเวลาที่ต้องทำการจดทะเบียนเข้าระบบภาษีมูลค่าเพิ่มอย่างเลี่ยงไม่ได้ เพราะเป็นสิ่งที่กฎหมายกำหนด สิ่งที่บริษัทสามารถทำได้คือการเลือกใช้บริการหรือขอคำปรึกษากับสำนักงานบัญชีเพื่อช่วยดำเนินการอย่างถูกต้อง รัดกุม เพื่อผลประโยชน์สูงสุดของบริษัทของเราและเพื่อทำตามขั้นตอนการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มให้ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนดไว้