เอ.เอ็ม. ออดิท กรุ๊ป บริการตรวจสอบบัญชีตามมาตรฐานกระทรวงพาณิชย์ ประเภทต่าง ๆ ดังนี้

ประเภทงานบริการ

  1. ตรวจสอบบัญชีประจำปี ตามที่กำหนดโดยกระทรวงพาณิชย์
  2. ตรวจสอบตามความต้องการของลูกค้า เช่น ตรวจข้อผิดพลาด
  3. ตรวจเช็คการบันทึกบัญชีในระบบบัญชีโปรแกรมสำเร็จรูปของลูกค้า
  4. ตรวจเช็คเอกสารประกอบการบันทึกบัญชี ว่ามีความผิดปกติหรือไม่


ประโยชน์ที่ได้รับ

  • ช่วยลดความผิดพลาดจากการประเมินความเสี่ยง หากมีการประเมินความเสี่ยงที่มีนัยสำคัญอันจะส่งผลให้งบการเงินเกิดข้อผิดพลาด หรือไม่เป็นไปตามมาตรฐานรายงานทางการเงินและระบบการควบคุมภายในที่ดี ก็จะสามารถแจ้งทีมผู้บริหารเพื่อให้ทราบจุดอ่อนหรือหาวิธีแก้ไขและรับมือได้อย่างทันท่วงที
  • มั่นใจในงบการเงินทำให้จัดสรรงบประมาณต่าง ๆ ได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น งบการเงินที่ที่เป็นไปตามมาตรฐานการสอบบัญชี รวมถึงปฏิบัติอย่างเป็นไปตามมาตรฐานรายงานทางการเงิน ทำให้บริษัทสามารถนำงบการเงินเหล่านั้นไปใช้ในการวางแผนต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และมีประสิทธิภาพ
  • สามารถนำผลการตรวจสอบบัญชีมาปรับปรุงการดำเนินงานของธุรกิจได้ การตรวจสอบบัญชีคือหลักประกันขององค์กรในแง่ของการประเมินประสิทธิภาพการดำเนินการและประสิทธิผลต่าง ๆ ในองค์กร ไม่ว่าจะเป็นด้านบริหารหรือด้านการเงิน ทำให้สามารถนำผลที่ได้รับไปทำการปรับปรุงการดำเนินการของธุรกิจได้อย่างเหมาะสม

ขอบเขตงานตรวจสอบบัญชีและรับรองงบการเงินของ เอ เอ็ม ออดิท กรุ๊ป

  1. การวางแผนการตรวจสอบ
  2. การประเมินความเสี่ยง (เข้าตรวจที่บริษัทลูกค้า)
  3. การทดสอบการควบคุม (เข้าตรวจที่บริษัทลูกค้า)
  4. การตรวจสอบเนื้อหาสาระตามระดับความมีสาระสำคัญ
    4.1 การเข้าสังเกตการณ์ตรวจนับสินค้าคงเหลือ (เข้าตรวจที่คลังสินค้าของลูกค้า)
    4.2 การเข้าตรวจงาน Interim (เข้าตรวจที่บริษัทลูกค้า)
    4.3 การเข้าตรวจงาน Year End (เข้าตรวจที่บริษัทลูกค้า)
  5. การจัดทำรายงานและการสรุปผล
    5.1 การสอบทานกระดาษทำการและประเด็นจากการตรวจสอบ Interim
    5.2 การสอบทานกระดาษทำการและประเด็นจากการตรวจสอบ Year End
    5.3 การจัดทำงบการเงินเฉพาะกิจการ
    5.4 การจัดทำงบการเงินรวมและหน้ารายงานผู้สอบบัญชี
    5.5 การจัดทำ Management Letter

• ตรวจสอบบัญชีงบการเงิน โดยทีมงานผู้สอบบัญชีรับอนุญาตที่ได้มาตรฐาน โดยปฏิบัติงานตรวจสอบบัญชีตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไป ซึ่งกำหนดให้ปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านจรรยาบรรณ รวมถึงวางแผนและปฏิบัติงานตรวจสอบเพื่อให้ได้ความเชื่อมั่นอย่างสมเหตุสมผลว่างบการเงินปราศจากการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ การตรวจสอบรวมถึงการใช้วิธีการตรวจสอบเพื่อให้ได้มาซึ่งหลักฐานการสอบบัญชีเกี่ยวกับจำนวนเงินและการเปิดเผยข้อมูลในงบการเงิน วิธีการตรวจสอบที่เลือกใช้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้สอบบัญชี ซึ่งรวมถึงการประเมินความเสี่ยงจากการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญของงบการเงินไม่ว่าจะเกิดจากการทุจริตหรือข้อผิดพลาด ในการประเมินความเสี่ยงดังกล่าว ผู้สอบบัญชีพิจารณาการควบคุมภายในที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำและการนำเสนองบการเงินโดยถูกต้องตามที่ควรของกิจการเพื่อออกแบบวิธีการตรวจสอบที่เหมาะสมกับสถานการณ์ แต่ไม่ใช่เพื่อวัตถุประสงค์ในการแสดงความเห็นต่อประสิทธิผลของการควบคุมภายในของกิจการ การตรวจสอบรวมถึงการประเมินความเหมาะสมของนโยบายการบัญชีที่ใช้และความสมเหตุสมผลของประมาณการทางบัญชีที่จัดทำขึ้นโดยผู้บริหาร รวมทั้งการประเมินการนำเสนอโดยรวมของงบการเงิน เพื่อให้เชื่อว่าหลักฐานการสอบบัญชีที่ได้รับเพียงพอและเหมาะสมเพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการแสดงความเห็นของผู้สอบบัญชี

• เสนอข้อสังเกตต่อผู้บริหาร การตรวจสอบมิได้มีวัตถุประสงค์ที่จะหาข้อผิดพลาดทางการบัญชีหรือการทุจริตในเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ อย่างไรก็ตามผลการตรวจสอบอาจจะชี้ให้เห็นถึงข้อผิดพลาดหรือการทุจริตในบางเรื่องได้ ทั้งนี้สำนักงานจะเสนอข้อสังเกตต่อผู้บริหารเพื่อให้ทราบถึงข้อบกพร่องในการควบคุมภายในทางบัญชีที่สำคัญ ซึ่งได้พบในระหว่างปฏิบัติงานตรวจสอบบัญชี

• การตรวจสอบมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้สามารถแสดงความเห็นในรายงานการสอบบัญชีว่างบการเงินแสดงฐานะการเงินและผลการดำเนินงาน โดยถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (NPAEs) หรือมาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (PAE)

กระบวนการสอบบัญชีของ เอ เอ็ม ออดิท กรุ๊ป แบ่งออกได้เป็น 5 ขั้นตอน

  1. การวางแผนการตรวจสอบ
    1.1 การจัดทำสรุปความเข้าใจในสภาพธุรกิจและกิจการที่ตรวจสอบ
    1.2 การกำหนดความมีสาระสำคัญในการวางแผนการตรวจสอบและการปฏิบัติงานสอบบัญชี
    1.3 การจัดทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบในขั้นต้น
    1.4 การกำหนดงบประมาณและระยะเวลาในการตรวจสอบ
    1.5 การประชุมกับผู้ปฏิบัติงานตรวจสอบในช่วงการวางแผนตรวจสอบ
    1.6 การจัดทำแผนการตรวจสอบบัญชีโดยรวม
    1.7 การประเมินการใช้ผลงานผู้เชี่ยวชาญ (ถ้ามี)
  2. การประเมินความเสี่ยง
    2.1 การประเมินความเสี่ยงสืบเนื่อง
    2.2 การประเมินความเสี่ยงจากการควบคุม ระดับกิจการ
    2.3 การประเมินความเสี่ยงจากการควบคุม ระดับรายการ
    2.4 การประเมินความเสี่ยงเกี่ยวกับการพิจารณาการทุจริต
    2.5 การประเมินในเรื่องการประมาณการ โดยผู้บริหาร
    2.6 การตรวจสอบสมุดรายวันทั่วไป
    2.7 การสอบทานรายงานการประชุมของกิจการ
  3. การทดสอบการควบคุม
    3.1 การทำความเข้าใจในระบบสารสนเทศของกิจการ
    3.2 การทำความเข้าใจในระบบการควบคุมภายในของกิจการ
    3.3 การทดสอบระบบการควบคุมการรับ-จ่ายเงินสดและเงินฝากธนาคาร
    3.4 การทดสอบระบบการควบคุมการขาย ลูกหนี้การค้า และการรับชำระ
    3.5 การทดสอบระบบการควบคุมการซื้อ เจ้าหนี้การค้า และการจ่ายชำระ
    3.6 การทดสอบระบบการควบคุมการจ่ายเงินเดือนและค่าแรง
    3.7 การทดสอบระบบการควบคุมต้นทุนและการจัดการสินค้าคงเหลือ
    3.8 การทดสอบระบบการควบคุมสินทรัพย์ถาวร
  4. การตรวจสอบเนื้อหาสาระตามระดับความมีสาระสำคัญ
    4.1 การตรวจสอบหมวดสินทรัพย์
    4.2 การตรวจสอบหมวดหนี้สิน
    4.3 การตรวจสอบส่วนของผู้ถือหุ้น
    4.4 การตรวจสอบหมวดรายได้
    4.5 การตรวจสอบหมวดค่าใช้จ่ายและภาษีเงินได้นิติบุคคล
  5. การจัดทำรายงานและการสรุปผล
    5.1 สรุปปัญหา ข้อผิดพลาดที่ตรวจพบ พร้อมข้อเสนอแนะ
    5.2 ข้อสังเกตจากการสอบทาน
    5.3 สรุปรายการปรับปรุงและจัดประเภทใหม่
    5.4 สรุปข้อผิดพลาดที่ไม่ได้ปรับปรุง (ถ้ามี)
    5.5 งบทดลองหลังการปรับปรุง
    5.6 กระดาษทำการงบแสดงฐานะการเงิน
    5.7 กระดาษทำการงบกำไรขาดทุน
    5.8 กระดาษทำการงบกระแสเงินสด
    5.9 การจัดทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบขั้นสุดท้าย (หลังปรับปรุง)
    5.10 สรุปเหตุการณ์ภายหลังวันที่ในงบการเงิน
    5.11 การตรวจสอบการดำเนินงานต่อเนื่องของกิจการ (Going Concern)
    5.12 รายงานเกี่ยวกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน
    5.13 รายการข้อผูกพันตามสัญญาและหนี้สินที่อาจจะเกิดขึ้นภายหน้า
    5.14 หนังสือยืนยันจากทนายความ
    5.15 งบการเงินประจำปีและรายงานผู้สอบบัญชี (ไม่รวมรายไตรมาส)
    5.16 Management Letter (สำหรับผู้บริหาร)

บริการที่รวมค่าตรวจสอบบัญชีแล้ว

  1. ตรวจสอบงบการเงินและจัดทำงบการเงินเพื่อให้ผู้บริหารตรวจสอบความถูกต้องของงบการเงิน การตรวจสอบข้อมูลทางบัญชีและรายงานทางการเงิน เช่น งบดุล งบกำไรขาดทุน งบกระแสเงินสด และหมายเหตุประกอบงบการเงิน เพื่อประเมินว่าข้อมูลดังกล่าวมีความสมบูรณ์ เชื่อถือได้ และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้หรือไม่ โดยผู้สอบบัญชีทำหน้าที่ตรวจสอบงบการเงินเพื่อแสดงความเห็นต่อความถูกต้องของงบการเงินนั้น โดยปฎิบัติตามหลักการพื้นฐาน ดังต่อไปนี้
    • มรรยาทผู้สอบบัญชี
    • มาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไป
    • การใช้วิจารณญาณในการสังเกต และสงสัยเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ
  2. ตรวจสอบการดำเนินการ การสอบทานขั้นตอน วิธีการปฏิบัติงานและภาระหน้าที่ต่าง ๆ ในองค์กร เพื่อให้มั่นใจว่า ลำดับขั้นตอนในการปฎิบัติงานและภาระหน้าที่ในแต่ละหน่วยงานได้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ ตามขั้นตอนที่กำหนดไว้อย่างเหมาะสม ซึ่งจะส่งผลให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด และผลของงานนั้นได้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้
  3. ตรวจสอบการปฎิบัติงานตามกฎระเบียบ การตรวจสอบเพื่อให้มั่นใจว่าการปฎิบัติงานขององค์กรเป็นไปตามกฏหมาย ระเบียบ ข้อบังคับของหน่วยงานกำกับดูแล และกฎระเบียบนโยบายขององค์กร

บริการเพิ่มเติม

• จัดทำแบบภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด.50) พร้อมนำส่งสรรพากร
• จัดทำส.บช.3 , สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5) และจัดเตรียมรายละเอียดประกอบการยื่นงบการเงินตามกำหนด พร้อมนำส่งงบการเงินต่อกระทรวงพาณิชย์

• จัดทำงบการเงินภาษาอังกฤษ (เพิ่มเติมจากงบการเงินภาษาไทย)

ยกตัวอย่างกระดาษทำการที่สำคัญที่เอ เอ็ม ออดิท กรุ๊ป ทำเพิ่มเติม

  1. สินค้าคงเหลือ
    • กระดาษทำการ กระทบยอดรายการสินค้า ณ วันตรวจนับ
    • กระดาษทำการ กระทบยอดรายการสินค้า ณ วันตรวจนับ ไปยัง ณ วันสิ้นงวด
    • กระดาษทำการ ทดสอบราคาทุนต่อหน่วย
  2. ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์
    • กระดาษทำการ การตรวจนับที่ดิน อาคารและอุปกรณ์
    • กระดาษทำการ กระดาษทำการทดสอบการคำนวณค่าเสื่อมราคาทรัพย์สิน
    • กระดาษทำการ การทดสอบการด้อยค่าของทรัพย์สิน
  3. ลูกหนี้การค้า/เจ้าหนี้การค้า
    • กระดาษทำการ สรุปการตรวจสอบลูกหนี้การค้า/เจ้าหนี้การค้า
  4. รายได้/ต้นทุน
    • กระดาษทำการ ตรวจตัดยอดขายและยอดซื้อ
  5. กระดาษทำการอื่น ๆ
    • กระดาษทำการ แนวการสอบบัญชี (Audit Program) ของแต่ละบัญชี
    • กระดาษทำการ การวิเคราะห์เปรียบเทียบและอัตราส่วนทางการเงิน

*ค่าบริการตรวจสอบบัญชีของ เอ เอ็ม ออดิท กรุ๊ป คำนวณจากข้อมูลที่ได้รับและตกลงไว้เมื่อรับงาน หากมีการเปลี่ยนแปลงขอบเขตและข้อมูลเพิ่มเติมในระหว่างการตรวจสอบอันเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของบริษัทที่ถูกตรวจสอบซึ่งส่งผลให้ระยะเวลาที่ทางสำนักงานใช้ในการตรวจสอบเพิ่มขึ้นอย่างเป็นนัยยะสำคัญ ทางสำนักงานขอสงวนสิทธิ์ในการปรับค่าบริการเพิ่มขึ้นตามความเหมาะสมต่อไป ทั้งนี้ทางสำนักงานจะแจ้งให้ทางบริษัททราบล่วงหน้า

ความสำคัญของการสอบบัญชี

การบริหารการเงินของธุรกิจที่ได้จัดทำขึ้นเพื่อแสดงถึงความสามารถในการดำเนินการของฝ่ายจัดการ และการบันทึกบัญชีที่จัดทำขึ้นก็เพื่อแสดงฐานะของกิจการ ณ วันสิ้นงวดบัญชีให้แก่ผู้เกี่ยวข้องอันประกอบด้วย ผู้ถือหุ้น ผู้บริหาร ฝ่ายจัดการ ผู้ลงทุน ส่วนราชการ ได้ทราบ งบการเงินดังกล่าวจะเป็นการเปิดเผยข้อมูลที่เพียงพอหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ในการตรวจสอบความถูกต้องตามหลักบัญชีที่รับรองโดยทั่วไปกับหลักฐานและเอกสารต่าง ๆ

การสอบบัญชี (Audit) คือ การตรวจสอบสมุดบัญชีของธุรกิจนั้น ๆ ตลอดจนเอกสารประกอบการลงบัญชี รวมทั้งหลักฐานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการลงบัญชีว่าได้ปฏิบัติตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปอย่างถูกต้องหรือไม่

ผู้สอบบัญชี (Auditor หรือ Public Accountant) จะต้องเป็นผู้ขึ้นทะเบียนเป็น “ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต” (Certified Public Accountant) และให้บริการทางด้านการสอบบัญชี ได้แก่ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการบัญชี การวางรูปบัญชี การให้คำปรึกษาเกี่ยวกับภาษีอากร ตลอดจนบริการด้านบริหารการเงินอื่น ๆ ที่ให้บริการแก่ลูกค้าเฉพาะราย

งานของผู้สอบบัญชี จะต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามวิธีการตรวจสอบด้านต่าง ๆ การจัดทำรายงานการสอบบัญชี การให้ความเห็นต่องบการเงิน การเปิดเผยข้อมูลให้เพียงพอ ตลอดจนมีความรับผิดชอบต่อความถูกต้องของงบการเงิน


วัตถุประสงค์ของการสอบบัญชี

ตามมาตรฐานการสอบบัญชี ฉบับที่ 200 เรื่องวัตถุประสงค์และหลักการพื้นฐานของการสอบบัญชีได้กำหนดวัตถุประสงค์ของการสอบบัญชีดังนี้

“การตรวจสอบงบการเงินมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้สอบบัญชีสามารถแสดงความเห็นต่องบการเงินว่างบการเงินนั้นได้จัดทำในส่วนสาระสำคัญเป็นไปตามแม่บทการบัญชีในการรายงานทางการเงินหรือไม่”

ดังนั้น วัตถุประสงค์ของการตรวจสอบงบการเงิน คือ การแสดงความเห็นว่างบการเงินนั้นได้แสดงฐานะการเงิน ผลการดำเนินงาน และกระแสเงินสดของกิจการโดยถูกต้องตามควรในสาระสำคัญตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปหรือไม่

การสอบบัญชี

การสอบบัญชี หมายถึง กระบวนการรวบรวม และการประเมินหลักฐานเกี่ยวกับสารสนเทศเพื่อระบุและรายงานเกี่ยวกับระดับความสอดคล้องต้องกันของสารสนเทศนั้นกับหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้และสื่อสารผลลัพธ์ให้ผู้ใช้ที่สนใจ

กระบวนการสอบบัญชี

การสอบบัญชีเป็นกระบวนการของการรวบรวมและประเมินหลักฐานการสอบบัญชี เพื่อให้ผู้สอบบัญชีสามารถสรุปผลการตรวจสอบ และจัดทำรายงานการสอบบัญชีได้

มาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไป
มาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไป หมายถึง แนวทางการปฎิบัติงานของผู้สอบบัญชี ผู้สอบบัญชีต้องปฎิบัติงานตรวจสอบงบการเงินตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไปซึ่งกำหนดโดยสภาวิชาชีพบัญชี มาตรฐานการสอบบัญชีประกอบด้วยหลักการพื้นฐานและวิธีการตรวจสอบที่สำคัญ รวมทั้งแนวทางปฎิบัติต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยในปัจจุบัน สภาวิชาชีพได้จัดทำร่างมาตรฐานการสอบบัญชีเพื่อใช้แทนมาตรฐานการสอบบัญชีที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน

นิติบุคคลทุกประเภท ที่มีหน้าที่ต้องจัดทำบัญชีและจัดให้มีการตรวจสอบบัญชี โดยผู้ตรวจสอบบัญชีรับอนุญาตหรือผู้ตรวจสอบบัญชีภาษีอากรก่อนนำส่งสรรพากรและกระทรวงพาณิชย์ ผู้สอบบัญชีภาษีอากรที่มีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์สอบบัญชีจากบริษัทตรวจสอบบัญชีชั้นนำ สามารถตรวจสอบได้ทุกประเภทธุรกิจทั้งด้านธุรกิจบริการ ธุรกิจผลิต ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ในหลายอุตสาหกรรม และตรวจสอบได้ทั้งมาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (NPAEs) และมาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (PAE)